วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การปลูกกล้วยไม้บนพื้นดิน



หากเป็นกล้วยไม้ซึ่งตามธรรมชาติพบขึ้นอยู่บนพื้นดิน เท่าที่มีประสบการณ์มาแล้วจากการปฏิบัติ ถ้าเป็นกล้วยไม้ซึ่งมีหัวอยู่ใต้พื้นผิวดินจะมีนิสัยผลัดใบในช่วงฤดูแล้งและ อีกกลุ่มหนึ่งจะให้ดอกในฤดูแล้งซึ่งอยู่ระหว่างทิ้งใบหมด เช่น ชนิดต่างๆ ในสกุลยูโลเฟีย (Eulophia) อีกกลุ่มหนึ่งให้ดอกช่วงกลางฤดูฝน ที่ส่วนต้นและใบเจริญเติบโตพ้นพื้นดินแล้ว เช่นชนิดต่างๆ ในสกุลเพคไทลิส และ ฮาเบนาเรีย (Pecteilis and Habenaria) หรือภาษาไทยเรียกว่า นางอั้ว นางกราย ท้าวคูลู ซึ่งเป็นชื่อในวรรณคดีไทยเรื่องหนึ่ง

โดยเฉพาะกล้วยไม้ดิน ที่ช่วงฤดูแล้งจะไม่ปรากฏส่วนใดบนผิวดินให้เห็นเลย ขณะที่กลุ่มแรกในฤดูฝนเราจะเห็นใบสีเขียวสด และเมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง เราจะไม่เห็นใบแต่จะเปลี่ยนเป็นเห็นช่อดอกแทน ถ้าปลูกรวมกันเป็นกลุ่มจะสะท้อนให้เห็นภาพของดอกที่ออกมาปกคลุมผิวดินอย่าง หนาแน่น แต่กรณีของเอื้องพร้าว ในฤดูแล้งจะเห็นทั้งใบและช่อดอกยาวๆ
ดังนั้น การปลูกกล้วยไม้ซึ่งมีธรรมชาติขึ้นอยู่บนพื้นดิน จึงควรพิจารณาหลายแง่มุม เช่น การปลูกในสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อวัตถุประสงค์ในด้านการศึกษาค้นคว้า หากมีการส่งเสริมให้ผู้มาชมได้รับความรู้ด้วยก็คงใช้ศิลปะการตกแต่งเลียนแบบ ธรรมชาติเพื่อความสวยงามร่วมด้วย

ส่วนการปลูกปฏิบัติก่อนอื่นควรพิจารณาพื้นดินซึ่งเป็นฐานการปลูก ให้มีความเหมาะสมชัดเจนเสียก่อน เพราะกล้วยไม้ในกลุ่มที่พบขึ้นบนพื้นดินพวกหนึ่งอาศัยดินโดยตรงโดยเฉพาะชนิด ซึ่งมีหัวอยู่ใต้ดิน
อีกพวกหนึ่งขึ้นอยู่บนพื้นผิวดินที่หยั่งรากลงบนชั้นของใบไม้ผุ ซึ่งตกทับถมอยู่บนพื้นค่อนข้างหนา แม้พวกที่ขึ้นอยู่ตามซอกหินเช่นกัน การพิจารณาสิ่งเหล่านี้ให้ละเอียดรอบคอบจะช่วยให้สามารถตัดสินใจในการปลูก ปฏิบัติได้ใกล้เคียงกับความต้องการ อันเป็นธรรมชาติของกล้วยไม้แต่ละชนิดให้มากที่สุด ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและนิสัยอันถือเป็นธรรมชาติของกล้วย ไม้แต่ละสกุลแต่ละชนิด จึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

อนึ่ง การนำกล้วยไม้มาปลูกเลียนแบบธรรมชาติ หากหวังผลสำเร็จในระยะยาวด้วย ไม่ว่าจะใช้กล้วยไม้พันธุ์ธรรมชาติหรือพันธุ์ผสม ควรเริ่มต้นจากขนาดรุ่นๆ แทนที่จะนำเอาต้นขนาดใหญ่และมีอายุมากพอสมควรมาปลูก
ทั้งนี้ เนื่องจากต้นขนาดรุ่นๆ มีความแข็งแรงและมีพลังในการเจริญเติบโตสูงกว่า

ที่มา:http://news.enterfarm.com/content/

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิธีการปลูกกล้วยไม้



วิธีการปลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบังคับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ ถ้าใช้วิธีการปลูกที่ไม่เหมาะสม กล้วยไม้ก็ไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้จึงจำเป็นต้องศึกษาความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด เลือกภาชนะปลูกและเครื่องปลูก รวมทั้งวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ

ภาชนะปลูก ภาชนะที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้มีส่วนสำคัญต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้ ดังนั้นจึงควรจัดภาชนะปลูกให้เหมาะกับการเจริญของรากกล้วยไม้แต่ละประเภท ภาชนะสำหรับปลูกกล้วยไม้มีหลายชนิด ดังนี้

กระถางดินเผาทรงเตี้ย เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 4-6 นิ้ว สูง 2-4 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถาง เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ มะพร้าวสับ วางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระถาง

กระถางดินเผาทรงสูง เป็นกระถางดินเผาขนาดปากกว้าง 3-4 นิ้ว สูง 4-5 นิ้ว เจาะรูที่ก้นและรอบกระถางแต่รูน้อยกว่ากระถางทรงเตี้ย เหมาะกับกล้วยไม้ที่ต้องการเครื่องปลูกหรือกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น คัทลียา หวาย โดยปลูกด้วยกาบมะพร้าวอัดเรียงตามแนวตั้งจนแน่น ยึดรากและโคนกล้วยไม้ตรงกลางกระถางให้แน่น

กระเช้าไม้สัก ทำจากไม้สักหรือไม้ชนิดอื่น นิยมทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีขนาดตั้งแต่ขนาด 4x4 นิ้ว ถึง 10x10 นิ้ว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ มีต้นใหญ่ รากใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง การปลูกด้วยกระเช้าไม้สักภายในไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องปลูกใดๆ หรืออาจใส่ถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ 2-3 ก้อนวางให้โปร่งก็พอ วางต้นกล้วยไม้กลางกระถางแล้วใช้เชือกหรือลวดเส้นเล็กๆ ผูกติดกับก้นกระเช้า

กระเช้าพลาสติก เป็นกระเช้าที่ทำจากพลาสติกสีดำ ราคาถูก มีหลายแบบ หลายขนาด แต่ที่นิยมใช้มี 2 ขนาด คือ ขนาดทรงเตี้ยใช้ปลูกกล้วยไม้แวนด้า และ ขนาดทรงสูงใช้ปลูกกล้วยไม้หวาย ลักษณะการปลูกเช่นเดียวกับกระถางดินเผาทรงเตี้ยและกระถางดินเผาทรงสูง

กระถางดินเผามีรูก้นกระถาง เป็นกระถางดินเผาชนิดเดียวกับที่ใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป มีรูระบายน้ำอยู่ที่ก้นกระถางเพียงรูเดียว ทั้งแบบทรงสูงทั่วไปและแบบทรงเตี้ย มีขนาดตั้งแต่ 4-10 นิ้ว นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งดิน เช่น กล้วยไม้สกุลรองเท้านารี สกุลเอื้องพร้าว สกุลคูลู และสกุลสเปโธกล๊อตติส

ท่อนไม้ที่มีเปลือก โดยผูกกล้วยไม้ติดกับท่อนไม้ที่มีเปลือกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 นิ้ว ยาวประมาณ 1 ฟุต ปลายหนึ่งของท่อนไม้ยึดติดกับลวดใว้สำหรับแขวนกับราว เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลแวนด้า

ต้นไม้ใหญ่ โดยการปลูกยึดติดกับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เหมาะกับกล้วยไม้รากอากาศและรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ สกุลช้าง สกุลหวาย สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากอากาศสามารถใช้ลวดหรือเชือกผูกติดกับต้นไม้ได้เลย แต่สำหรับกล้วยไม้ที่เป็นรากกิ่งอากาศให้หุ้มด้วยกาบกะพร้าวทับอีกชั้นหนึ่ง ยึดกาบมะพร้าวด้วยตาข่ายหรือซาแลนอีกชั้นหนึ่ง

เครื่องปลูก วัสดุที่ใส่ลงไปในภาชนะที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ เป็นที่เก็บอาหาร เก็บความชื้น หรือปุ๋ยของกล้วยไม้ และเพื่อให้รากของกล้วยไม้เกาะ ลำต้นจะได้ตั้งอยู่ได้ เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับลักษณะการเจริญเติบโตของรากกล้วยไม้จะทำให้กล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง เครื่องปลูกที่นิยมใช้มีดังนี้

ออสมันด้า เป็นเครื่องปลูกที่ได้มาจากรากของเฟิร์น ลักษณะเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลจนเกือบดำ ค่อนข้างแข็ง ก่อนที่จะใช้ต้องล้างให้สะอาด แล้วจึงอัดตามยาวลงไปในกระถาง ก่อนที่จะอัดลงในกระถางควรรองก้นกระถางด้วยกระเบื้องแตกหรือถ่านประมาณครึ่งหนึ่งของกระถาง เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกไม่ควรอัดออสมันด้าให้เต็มกระถาง ก่อนใช้ควรแช่น้ำหรือต้มเพื่อฆ่าเชื้อราเสียก่อน ออสมันด้าเป็นเครื่องปลูกที่ดี แต่ราคาค่อนข้างสูง สามารถเลี้ยงกล้วยไม้ได้เจริญงอกงามสม่ำเสมอ มีอายุการใช้งาน 2-3 ปี แต่มีข้อเสีย คือ มีตะไคร่น้ำขึ้นหน้าเครื่องปลูก และเกิดเชื้อราง่าย ออสมันด้าใช้ปลูกกล้วยไม้แบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา

กาบมะพร้าว เป็นเครื่องปลูกที่นิยมใช้ปลูกกล้วยไม้มาก เพราะหาง่าย ราคาถูก เหมาะที่จะใช้อัดลงในกระถางดินเผาสำหรับใช้ปลูกกล้วยไม้รากกึ่งอากาศเช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา วิธีทำคือใช้กาบมะพร้าวแห้งที่แก่จัดและมีเปลือก อัดตามยาวให้แน่นลงในกระถาง ตัดหน้าให้เรียบ แล้วใช้แปรงลวดปัดหน้าให้เป็นขน เพื่อให้ดูดซับน้ำดีขึ้น เครื่องปลูกกาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกที่ได้ความชื้นสูง เหมาะสำหรับกล้วยไม้ปลูกใหม่ เพราะจะทำให้ตั้งตัวเร็ว จึงทำให้กล้วยไม้เจริญงอกงามเร็วกว่าปลูกด้วยเครื่องปลูกชนิดอื่นๆ แต่มีข้อเสียคือมีอายุการใช้งานได้ไม่นาน คือมีอายุใช้งานได้เพียงปีเดียวเครื่องปลูกก็ผุ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือเกิดตะไคร่น้ำได้ง่าย เนื่องจากกาบมะพร้าวอมความชื้นไว้ได้มาก จึงควรรดน้ำให้น้อยกว่าเครื่องปลูกชนิดอื่น

ถ่าน เป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ที่ดีชนิดหนึ่ง เพราะหาง่าย ราคาไม่แพง คงทนถาวร ไม่เน่าเปื่อยผุพังง่ายและดูดอมน้ำได้ดีพอเหมาะไม่ชื้นแฉะเกินไป ยังช่วยดูดกลิ่นที่เน่าเสียและทำให้อากาศบริสุทธ์อีกด้วย แต่มีข้อเสียคือมักจะมีเชื้อราอยู่ ในการใช้ถ่านเป็นเครื่องปลูกกล้วยไม้ ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากกึ่งอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลแคทลียา ควรใช้ถ่านป่นซึ่งเป็นก้อนเล็กๆ ผสมกับอิฐ หรือใช้อิฐหักรองก้นกระถางประมาณครึ่งกระถาง แล้วใช้ถ่านป่นใส่ทับข้างบนจนเต็มหรือเกือบเต็มกระถาง จากนั้นจึงเอากล้วยไม้ปลูกโดยวางทับไว้บนถ่านอีกชั้นหนึ่ง สำหรับถ่านที่ใช้ปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลเข็ม สกุลกุหลาบ ถ้าเป็นกล้วยไม้ขนาดเล็กหรือยังเป็นลูกกล้วยไม้อยู่ เช่น มีขนาดสูงไม่เกิน 3 นิ้ว ควรใส่ถ่านก้อนเล็กๆ หรือใส่ถ่านป่นไว้บ้างพอสมควร แต่ถ้าเป็นกล้วยไม้ที่มีขนาดโดแล้วควรใส่ก้อนใหญ่ๆ ไว้ประมาณ 5-10 ก้อน เพื่อช่วยอุ้มความชุ่มชื้นไว้ให้กล้วยไม้ การที่ใส่ถ่านก้อนโตๆ จำนวนเล็กน้อยในการปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากแบบรากอากาศก็เพื่อต้องการให้บริเวณภายในกระถางมีช่องว่างมากๆ และโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ซึ่งเหมาะแก่ความต้องการหรือความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ที่มีระบบรากอากาศ

ทรายหยาบและหินเกล็ด การปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศโดยเฉพาะพวกสกุลหวาย มักใช้ทรายหยาบและหินเกล็ดที่ล้างสะอาดแล้วเป็นเครื่องปลูก โดยก้นกระถางใส่อิฐหักหรือหรือถ่านป่นไว้ ส่วนด้านบนใช้ทรายหยาบโรยหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยทับด้วยหินเกล็ดหนาประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นจึงนำหน่อกล้วยไม้ที่แยกจากกอเดิมไปปลูกวางไว้บนหินเกล็ด แล้วมัดติดกับหลักเพื่อยึดไม่ให้ล้มจนกว่ากล้วยไม้ที่ปลูกใหม่นี้มีรากยึดเครื่องปลูกและตั้งตัวได้

อิฐหักและกระถางดินเผาแตก อิฐหัก อิฐดินเผา และกระถางดินเผาแตก ใช้เป็นเครื่องปลูกรองก้นกระถางสำหรับปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ โดยมีออสมันด้า กาบมะพร้าว ถ่านป่น อย่างใดอย่างหนึ่งอัดหรือโรยไว้ข้างบน เพื่อให้ด้านล่างของกระถางหรือภาชนะปลูกโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวกและเป็นการช่วยในการระบายน้ำในกระถางได้ดีขึ้น

วิธีการปลูก

การล้างลูกกล้วยไม้ คือการล้างลูกกล้วยไม้จากการเพาะเนื้อเยื่อออกจากขวดเพาะแล้วล้างให้หมดเศษวุ้นอาหาร นำจุ่มลงในน้ำยานาตริฟินในอัตราส่วนน้ำยา 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 2,000 ส่วน แล้วนำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม แยกลูกกล้วยไม้ออกเป็น 2 ขนาด คือ ขนาดเล็กกับขนาดใหญ่พอจะปลูกลงในกระถางนิ้ว

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดเล็ก ลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กให้ปลูกในกระถางหมู่หรือกระถางดินเผาทรงสูงขนาด 4-6 นิ้ว รองก้นกระถางด้วยถ่านขนาดประมาณ 1 นิ้ว สูงจนเกือบถึงขอบล่างของกระถาง แล้วโรยทับด้วยออสมันด้าหนาประมาณ 1 นิ้ว ให้ระดับออสมันด้าต่ำกว่าขอบกระถางประมาณครึ่งนิ้ว ใช้มือข้างหนึ่งจับไม้กลมๆ เจาะผิวหน้าออสมันด้าในกระถางให้เป็นรูลึกและกว้างพอสมควร ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับปากคีบ คีบลูกกล้วยเบาๆ เอารากหย่อนลงไปในรูที่เจาะไว้ ให้ยอดตั้งตรง แล้วกลบออสมันด้าลงไปในรูให้ทับรากจนเรียบร้อย ควรจัดระยะห่างระหว่างต้นให้พอดี กระถางหมู่ขนาดปากกว้าง 4 นิ้ว ปลูกลูกกล้วยไม้ได้ประมาณ 40-50 ต้น

การปลูกลูกกล้วยไม้ขนาดใหญ่ ลูกกล้วยไม้ที่ต้นใหญ่ให้ปลูกในกระถางขนาด 1 นิ้ว ใช้ไม้แข็งๆ ค่อยๆ แคะออสมันด้าในกระถางตามแนวตั้งออกมาใช้นิ้วมือรัดเส้นออสมันด้าให้คงเป็นรูปตามเดิม ค่อยๆ แบะออสมันด้าให้แผ่บนฝ่ามือ หยิบลูกกล้วยไม้มาวางทับ ให้โคนต้นอยู่ในระดับผิวหน้าตัดของออสมันด้าพอดี หรือต่ำกว่าเล็กน้อย แล้วรวบออสมันด้าเข้าด้วยกัน นำกลับไปใส่กระถางตามเดิม เสร็จแล้วนำเข้าไปเก็บไว้ในเรือนเลี้ยงลูกกล้วยไม้ สำหรับลูกกล้วยไม้ขนาดเล็กที่อยู่ในกระถางหมู่มาเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป มีลำต้นใหญ่แข็งแรงพอสมควรแล้วควรย้ายไปปลูกลงในกระถางนิ้ว โดยนำกระถางหมู่ไปแช่น้ำประมาณ 10 นาที ค่อยๆ แกะรากที่จับกระถางและเครื่องปลูกออก แยกเป็นต้นๆ นำไปปลูกลงในกระถางนิ้วเช่นเดียวกัน

การปลูกลงในกระเช้า เมื่อลูกกล้วยไม้ในกระถางนิ้วมีรากเจริญแข็งแรงดี มีใบยาวประมาณข้างละ 2 นิ้ว ซึ่งจะใช้เวลาในการปลูกประมาณ 6-7 เดือน ก็นำไปลงปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 3-5 นิ้ว ด้วยการนำกระถางนิ้วไปแช่น้ำประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้แกะออกจากกระถางได้ง่าย ใช้นิ้วดันที่รูก้นกระถาง ทั้งต้นและออสมันด้าจะหลุดออกมา มือข้างหนึ่งจับออสมันด้าและลูกกล้วยไม้วางลงตรงกลางกระเช้าที่เตรียมไว้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบก้อนถ่านไม้ขนาดพอเหมาะใส่ลงไปในช่องระหว่างออสมันด้ากับผนังของกระเช้าให้พยุงลำต้นได้ นำไปแขวนไว้ในเรือนกล้วยไม้

การย้ายภาชนะปลูก เมื่อลูกกล้วยไม้มีใบยาว 4-5 นิ้ว ควรจะย้ายไปปลูกในกระเช้าไม้ขนาด 8-10 นิ้ว โดยสวมกระเช้าเดิมลงไปในกระเช้าใหม่เพื่อมิให้รากกระทบกระเทือน ใช้ก้อนถ่านไม้ก้อนใหญ่ๆ วางเกยกันโปร่งๆ หรือจะไม่ใช้เลยก็ได้ เนื่องจากกล้วยไม้ไม่ต้องการเครื่องปลูกที่แน่นและชื้นแฉะเป็นเวลานานๆ ถ้าไม่ต้องการสวมกระเช้าเดิมลงไปก็นำกระเช้าเดิมไปแช่น้ำก่อน เพื่อให้แกะรากที่จับติดกระเช้าออกได้ง่าย นำต้นที่แกะออกแล้ววางตรงกลางกระเช้า ให้ยอดตั้งตรง มัดรากบางรากให้ติดกับซี่พื้นด้านข้างของกระเช้า

การตกแต่งกล้วยไม้ต้นใหญ่ก่อนปลูก สำหรับกล้วยไม้ลำต้นใหญ่ที่ได้มาจากที่อื่นหรือจากการแยกหน่อ จะต้องตัดรากและใบที่เน่าหรือเป็นแผลใหญ่ๆ ทิ้งเสียก่อน รากบางส่วนที่ยังดีแต่ยาวเกินไป อาจตัดให้สั้นจนเกือบถึงโคนต้น แล้วทาแผลที่ตัดทุกแผลด้วยปูนแดงหรือยาป้องกันโรค เช่น ออร์โธไซด์ 50 ผสมน้ำให้เละมากๆ นำต้นกล้วยไม้ลงปลูกในกระเช้าไม้ซึ่งมีขนาดเหมาะสมกับลำต้น

นอกจากนั้นยังอาจนำกล้วยไม้ต้นใหญ่ไปผูกติดกับท่อนไม้หรือกระเช้าสีดา ให้บริเวณโคนต้นติดอยู่กับภาชนะปลูก ส่วนยอดอาจตั้งตรงทาบขึ้นไปหรือลำต้นโน้มไปข้างหน้าและส่วนยอดเงยขึ้น มัดลำต้นตรงบริเวณเหนือโคนต้นขึ้นไปเล็กน้อยให้ติดกับภาชนะปลูกด้วยเชือกฟางหรือลวด 1-2 จุดและมัดรากใหญ่ๆ ให้ติดกับภาชนะปลูกอีก 1-2 จุด เพื่อให้ติดแน่น อาจใช้กาบมะพร้าวกาบอ่อนชุบน้ำให้ชุ่ม มัดหุ้มบางๆ รอบโคนต้นกล้วยไม้เหนือบริเวณที่เกิดรากเล็กน้อยกับท่อนไม้ก็ได้ และนำท่อนไม้หรือกระเช้าสีดาไปแขวนบนราวเมื่อเกิดรากใหม่เกาะติดภาชนะปลูกดีแล้ว จึงตัดเชือกฟางหรือลวดออก

การให้น้ำกล้วยไม้



การให้น้ำและปุ๋ย

น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้
น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7


การให้น้ำ

วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้
จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้
สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด

เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ

การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้

ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้

โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า
ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ
ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา


การให้ปุ๋ย

ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ

วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น
พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป

วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย


เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย

เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

แมลงศัตรูหลักของกล้วยไม้




เพลี้ยไฟ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า "ตัวกันสี" เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ? - 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว
ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า "ดอกไหม้หรือปากไหม้" ดอกเหี่ยวแห้งง่าย
การป้องกันและกำจัด ใช้ O-BAC 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นในช่วงเย็นๆ เพื่อกำจัดและตัดวงจรของของศัตรูพืชต่างๆ



ไรแดงหรือแมงมุมแดง

เป็นศัตรูที่สำคัญที่สุดของกล้วยไม้ โดยเฉพาะกล้วยไม้สกุลหวาย ไรแดงเป็นศัตรูจำพวกปากดูดมีขนาดเล็กมาก แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นจุดสีแดงเล็กๆ เคลื่อนไหวได้ ไรแดงมีสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเหลืองอมเขียว สีเหลืองและส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม มักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มทางด้านใต้ใบ
ลักษณะอาการ ไรแดงจะทำลายทั้งใบและดอก โดยจะดูดน้ำเลี้ยง ถ้าดูดน้ำเลี้ยงที่ใบจะทำให้เกิดเป็นจุดด่าง ผิวใบไม่เรียบ มีสีเหลืองและค่อยๆ เป็นสีเข้มขึ้นจนถึงสีน้ำตาล ถ้ามีการทำลายมากๆ จะมองเห็นบริเวณนั้น
การป้องกันและกำจัด ทำได้โดยเก็บใบและดอกที่ถูกทำลายไปเผาและใช้ O-BAC 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั้งต้น

โรคต่างของกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ



โรคราดำ

เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้นและดอก
เพียงแต่มันไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง

สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Meliola sp

อาการของโรค: บริเวณใบและลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำๆ ของใยและสเปอร์ของเชื้อรา
มองดูคล้ายผงเขม่า ทำให้กล้วยไม้สกปรก

*การแพร่ระบาด: เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้ม โดยสเปอร์ปลิวมากับลม
หรือติดมากับแมลงแล้วยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่นๆได้

**สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป็นโรค: เชื้อรานี้มักขึ้นตามหยดน้ำหวาน หรือมูลที่เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา และมักพบในบริเวณใกล้หรือใต้ต้นไม้ใหญ่

การป้องกัน:
แยกหรือทำลายต้นที่เป้นโรค หรือฉีดพ่น โคโค-แม็กซ์ ป้องกันทุก 15-20 วัน




โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห้นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิด
และถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว

****อาการของโรค

เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง
ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
แล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ

สำหรับการสังเกตแบ่งได้เป้นข้อ ๆ ดังนี้นะ
1 อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป้นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด
แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง

2 อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย
กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น
ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"

3 อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น

4 อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น

5 อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห้นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้มพับในเวลาต่อมา

การแพร่ระบาด

เป้นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง
สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้

-การป้องกัน

1 ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป
2 ถ้าพบกระถางไหนที่เป้นโรค ต้องทำลายเสีย (แต่บางสวนมักนำมาขายต่อในราคาถูก)
3 ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โตแล้ว ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดี
แล้วใช้สารเคมีป้องกันป้ายบริเวณแผล
4 ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น
ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา

การป้องกันและกำจัด

สามารถใช้ โคโคแม็กซ์ ฉีดป้องกัน ได้ทุก 15-20 วัน หรือหากเป็นโรค ให้ฉีดกำจัดโรคทุก 5-7 วัน





โรคใบจุด

โรคใบจุด สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อยลงครับ
ถ้าโรคนี้เกิดในกล้วยไม้สกุลแวนด้า แผลจะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาวครับ
แต่ถ้าโรคนี้เกิดกับกล้วยไม้สกุลหวาย ก็จะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมด
กับกล้วยไม้สกุลหวายนั้น สามารถเกิดโรคนี้ขึ้นได้ตลอดปีเลยทีเดียวครับ
เราสามารถป้องกันและกำจัดได้โดยใช้เชื้อ โคโค-แม็กซ์ ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน หากป้องกัน 14-20 วันต่อครั้งครับ




โรคเน่าเละ

เป็นโรคที่เกิดเสมอในกล้วยไม้หลายสกุล ซึ่งจากรายงานพบว่า กล้วยไม้จำพวก แคทลียา ออซิเดียม ฟาแลนนอป
ซิมบิเดียม แวนด้าลูกผสมและเข็ม มักเป็นโรคนี้ โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำก่อน
ต่อมาจะลุกลามเป้นแผลขนาดใหญ่สีน้ำตาล และยุบตัวลง

ลักษณะอาการ

จะเกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ลำลูกกล้วย ลำต้นและใบ
โดยระยะแรกจะเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่อ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเนื้อเยื่อบวม
คล้ายน้ำร้อนลวก ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความชื้นสูง อาการจะขยายรุกรามเร้วขึ้น ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
มีกลิ่นบูดเหม้นจัด ใบจะหลุดภายใน 2-3 วัน อาจทำให้กล้วยไม้ตายทั้งต้น




โรคเน่า

เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาและนอปซิส เป็นต้น

ลักษณะอาการ

เริ่มแรกเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น
และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือ ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล และอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำ
บนใบจะมีขอบสีเหลืองเห้นชัดเจน ภายใน 2-3 วันเนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห้นร่างแหของเส้นใบ
ถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้

การแพร่ระบาด

โรคจะเเพร่ระบาดรุนแรง รวดเร็ว ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่น ช่วงอากาศอบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก

การป้องกัน

1 เผาทำลายต้นเป้นโรค
2 ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะ
อาการเน่าจะหยุดชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ
3 ไม่ควรปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลา
เมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่าย
การให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วน
เร่งการเจริญเติบโต
รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำใหต้นอวบ
เหมาะแก่การเกิดโรค

4 การใช้สารป้องกันกำจัด ใช้ เชื้อโคโค-แม็กซ์ 5 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง แล้วนำไปฉีดพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด
ซึ่งอาจทำให้เชื้อเสื่อมฤทธิ์และไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้


การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้
โดย ผศ.จิตราพรรณ พิลึก
ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จตุจักร กทม.

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้มีการเจริญเติบโตดี ต้องศึกษาเรื่องต่อไปนี้

1. ชนิดพันธุ์กล้วยไม้และแหล่งกำเนิด

1.1 ชนิดพันธุ์-ลักษณะการเจริญเติบโต
1.1.1 กล้วยไม้ป่า

พบที่ไหน
- กล้วยไม้ดิน
- กล้วยไม้บนลานหิน
- อยู่บนต้นไม้

ต้นลักษณะอย่างไร
- เจริญเติบโตเป็นกอ
- เป็นต้นเดี่ยว

สภาพภูมิประเทศ
- ต้นไม้มีใบเขียวตลอดปี
- ต้นไม้ผลัดใบ
- มีไฟป่า น้ำท่วม

สภาพภูมิอากาศ
- ร้อน/หนาว
- แห้ง/ชื้น

นิสัย
- เลี้ยงง่าย เลี้ยงยาก
- ออกดอกง่าย ออกดอกยาก

1.2 กล้วยไม้ลูกผสม

ลูกใคร
พ่อแม่มาจากไหน
นิสัยอย่างไร

ต้นจากการเพาะเมล็ด
ต้นจากการตัดแยก
ต้นจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2 สภาพแวดล้อมที่ดีในการปลูกเลี้ยง

สภาพแวดล้อมทุกอย่างมีความสัมพันธ์กันมาก
ในการเจริญเติบโตและออดดอกของกล้วยไม้หลายชนิด
ดังนั้น จึงต้องทราบสภาพแวดล้อมในแหล่งกำเนิด
ทั้งแสงแดด อุณหภูมิ ความชุ่มชื้นและแห้งแล้งในแต่ละฤดูกาล
การระบายอากาศ และศัตรูที่สำคัญ
มาปรับสภาพแวดล้อมในการดูแลรักษา
เพื่อให้ต้นมีการเจริญเติบโตที่ดีและให้ดอกที่งดงาม


2.1 แสงแดด
- ความเข้มของแสง
* ต้องการแสงแดดมาก ปลูกกลางแจ้ง
* ต้องการแสงน้อย เช่นลดเหลือ 50% โดยใช้ตาข่ายพรางแสง

- ช่วงเวลาการได้รับแสง ควรได้รับแสงตลอดวัน
ถ้าแสงไม่พอ ใบยาว ใบยอดอ่อน ไม่ออกดอก

2.2 อุณหภูมิ

ไม้เขตร้อน ไม้เขตหนาว
อากาศร้อน - ต้นโตตามปกติ - ต้นโตได้
ออกดอก ไม่ออกดอก


อากาศเย็น - ต้นอ้วน เตี้ย - ต้นปกติ
ดอกบานช้า ออกดอก


2.3 ความชื้นสัมพัทธ์

ร้อน-ชื้นมาก โรคระบาด
ร้อนแห้ง แมลงระบาด
ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำมาก ต้นผอม ทิ้งใบ

2.4 การระบายอากาศ

ระบายอากาศดี ต้นโตเร็ว ออกดอก ลดการระบาดของโรคและแมลง

2.5 ไม่มีศัตรูธรรมชาติหรือมีน้อย

- โรค
- แมลง
- หอย
- หนู
- นก
- กระรอก
3 รู้จักวิธีการปลูกและดูแลรักษา

3.1 เครื่องปลูก ภาชนะปลูก และวิธีการปลูก

เครื่องปลูก
- ดูดซับน้ำมาก
- ดูดซับน้ำน้อย

ภาชนะปลูก
- กระถางดินเผา
- กระถางพลาสติค
- ท่อนไม้

วิธีปลูก
- ปลูกให้ต้นตั้งตรง
- ปลูกให้ยอดเอียง
- ปลูกห้อยหัวลง

เลือกให้เหมาะกับระบบรากและลักษณะการเจริญเติบโตของต้นตามธรรมชาติ

3.2 น้ำและการให้น้ำ
ในต้นพืช มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 90
แสดงว่าจำเป็นต้องใช้น้ำในขบวนการเจริญเติบโต
และคุณภาพน้ำต้องดี ไม่เป็นพิษต่อระบบต้น ใบ ราก และดอก

คุณภาพน้ำ - สะอาด ใส รสจืด ปริมาณเกลือแร่ต่ำ

วิธีการรดน้ำ - ใช้คน ระบบอัตโนมัติ

ปริมาณน้ำ - รดให้เปียกทั่วต้น
- ฤดูร้อน/ฤดูหนาว/ฤดูฝน
- เครื่องปลูก ใหม่/เก่า

3.3 ธาตุอาหาร

3.3.1 ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต (essential elements)
แบ่งเป็น 2 พวกตามปริมาณที่พืชต้องการ

ธาตุอาหารมหัพภาค (macronutrient elements)
พืชต้องการมาก สูงกว่า 500 มก/กก.น้ำหนักแห้งของพืชที่เจริญโตเต็มวัย

แบ่งเป็น
คาร์บอน โฮรเจน และออกซิเจน ได้จากน้ำและกาซคาร์บอนไดออกไซด์

ธาตูอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม

ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน

ธาตุอาหารจุลธาตุ (micronutrient elements)
พืชต้องการปริมาณน้อย ต่ำกว่า 100 มก/กก.น้ำหนักแห้งของพืชที่เจริญโตเมวัย
ได้แก่ โบรอน คลอรีน ทองแดง เหล็ก แมงกานีส โมลิบินัม สังกะสี และนิเกิล


3.3.2 ปุ๋ย (Fertilzer)
ต้นกล้วยไม้มีชีวิต และมีการเจริญเติบโต
ดังนั้นจึงต้องใช้ธาตุอาหารในปริมาณและชนิดที่เหมาะสม
เพื่อการเจริญเติบโต ผลิใบ ออกดอก และหน่อใหม่
ไม่จำเป็นต้องรดปุ๋ยทุกวัน
เพียงสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและให้ดอก

การให้ปุ๋ยกล้วยไม้ จะใช้สูตรไหน เท่าไหร่ เมื่อใด
ขึ้นกับชนิดปุ๋ยและวิธีการให้ปุ๋ย
ชนิดของกล้วยไม้
โรงเรือนและสภาพแวดล้อม

ชนิดปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ - ปุ๋ยปลา ปุ๋ยหมัก
ปุ๋ยอนินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี
- ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยเกร็ด ปุ๋ยน้ำ
- ปุ๋ยละลายช้า

ปุ๋ยเคมี สูตรสูง และละลายน้ำได้ทั้งหมด เป็นปุ๋ยที่เหมาะกับกล้วยไม้

เรโชของธาตุอาหารในปุ๋ย
คือสัดส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆของปริมาณธาตุอาหาร
ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K)

มี 4 แบบคือ

เรโชสมดุล 1:1:1 เหมาะแก่การเจริญเติบโตปกติ
เรโชที่มีธาตุ N สูง เช่น 3:2:1 เร่งการเจริญเติบโตทางใบ สำหรับลูกไม้
เรโชที่มีธาตุ P สูง เช่น 1:2:1 ช่วยการออกดอก เร่งราก
เรโชที่มีธาตุ K สูง เช่น 1:3:5 ช่วยให้ต้นแข็งแรง

สูตรปุ๋ย
สูตรปุ๋ย คือ ปริมาณหรือเปอร์เซ็นต์ของธาตุอาหาร N,P,K ที่มีอยู่ในปุ๋ยนั้น
และกล้วยไม้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

เช่นสูตร 21-21-21 (เรโช 1:1:1) ศุตร 15-30-15 (เรโช 1:2:1)

สูตรปุ๋ย 30-20-10 คือน้ำหนักปุ๋ย 100 กิโลกรัม
มีไนโตรเจนที่พืชนำไปใช้ได้ 30 กิโลกรัม
มีฟอสฟอรัสที่พืชนำไปใช้ได้ 20 กิโลกรัม
มีโพแทสเซียมที่พืชนำไปใช้ได้ 10 กิโลกรัม

รวม 70 กิโลกรัม


วิธีการให้ปุ๋ย
การละลายปุ๋ย - ละลายให้หมด
การรดปุ๋ย - เปียกต้น ใบ ราก
เวลาในการให้ปุ๋ย - เช้า

ความถี่ในการให้ปุ๋ย ทุก 7 วัน
อัตราการให้ปุ๋ย กรัม/ลิตร , กรัม/ปี๊ป

ชนิดกล้วยไม้
1. -กล้วยไม้ป่า
-กล้วยไม้ลูกผสม

2. อายุและขนาดต้น
- ลูกกล้วยไม้
- กล้วยไม้รุ่น
- ต้นออกดอกแล้ว
- ต้นขนาดเล็ก/ขนาดใหญ่
- กอเล็ก/กอใหญ่

3. วัฎจักรการเจริญเติบโต
- พวกออกดอกตามฤดูกาลปีละครั้ง ให้สูตรเสมอ ใกล้ออกดอกให้สูตรเร่งดอก
- พวกออกดอกตลอดปี ต้องให้ปุ๋ยสม่ำเสมอ

4. โรงเรือนและสภาพแวดล้อม
- ความเข้มของแสงแดดและการระลายอากาศ
- ฤดูกาล ฤดูร้อน ฤดูหนาว ฤดูฝน
ต้นกล้วยไม้เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย
ถ้าสามารถนำความรู้เรื่องชนิดพันธุ์ แหล่งกำเนิด
และสภาพแวดล้อมในการปลูกเลี้ยง
มาใช้เป็นวิธีการปลูกและดูแลรักษา
จะทำให้ต้นมีการเจริญเติบโตดีและให้ดอกที่มีคุณภาพ

การดูแลวัสดุปลูกและภาชนะปลูกกล้วยไม้


วัสดุปลูกและภาชนะปลูกกล้วยไม้
วัสดุปลูกหรือเครื่องปลูกมีหน้าที่ให้รากเกาะยึดเพื่อให้ลำต้นตั้งตรง ไม่โอนเอนหรือล้ม วัสดุปลูกยังทำหน้าที่สำหรับเก็บความชื้นและธาตุอาหารเพื่อให้รากดูดไปใช้ ขณะเดียวกันวัสดุปลูกก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ ระบบราก การพิจารณาเลือกวัสดุปลูก (ครรชิต, 2535) ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติดังนี้

1. ช่วยให้ระบบรากและต้นกล้วยไม้เจริญงอกงามดี
2. หาได้ง่าย
3. ราคาไม่แพงนัก
4. ทนทานไม่ย่อยสลายเร็วเกินไป
5. ปราศจากสารพิษเจือปน
6. สะดวกต่อการใช้ปลูก

ชนิดและคุณสมบัติของวัสดุปลูกที่ใช้ต้องคำนึงถึงลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ ซึ่งลักษณะการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. กล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศ กล้วยไม้ประเภทนี้ต้องการวัสดุปลูกที่มีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำที่ดี โดยเฉพาะกล้วยไม้รากอากาศซึ่งมีรากขนาดใหญ่ ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda spp.) สกุลช้าง (Rhynchostylis spp.) สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.) สกุลกุหลาบ (Aerides spp.)ฯลฯ กล่าวคือ ขนาดวัสดุปลูกต้องมีขนาดใหญ่ และไม่อุ้มน้ำมากนัก และถ้าสามารถรดน้ำได้บ่อย ๆ หรือบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นสูงพอก็ไม่มีความจำเป็นต้องใส่วัสดุปลูก วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ ได้แก่

1.1 ออสมันด้า เป็นรากเฟิร์นสกุลออสมันด้า มีลักษณะเป็นเส้นฝอย มีข้อดีคือมีการถ่ายเทอากาศและการระบายน้ำดีมากแม้ว่าจะอัดแน่น จึงไม่มีปัญหาเรื่องให้น้ำมากเกินไป เก็บน้ำได้ดีประมาณ 140% ของน้ำหนักตัวเอง มีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบซึ่งรากกล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้และมีน้ำหนักเบา แต่มีข้อเสียคือ หาได้ยาก ราคาแพง และใช้งานยากเนื่องจากต้องตัดแยกเสียเวลานาน

1.2 ถ่าน เนื่องจากไม่มีแร่ธาตุอื่น ๆ เมื่อนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้ครบถ้วน แต่ไม่ย่อยสลาย มีน้ำหนักเบา ไม่มีปัญหาเรื่องรดน้ำเนื่องจากระบายน้ำได้ดี

1.3 กาบมะพร้าว ราคาถูก หาได้ง่าย มีข้อเสียคือ ถ้ารดน้ำมากเกินไป จะอุ้มน้ำไว้มาก และอาจทำให้รากเน่าได้ง่าย นอกจากนี้กาบมะพร้าวย่อยสลายเร็วจึงต้องเปลี่ยนวัสดุปลูกบ่อย ๆ

1.4 อิฐหักหรือกระถางแตก เก็บความชื้นได้ดี ไม่ย่อยสลายแต่มีน้ำหนักมาก มักมีปัญหาเรื่องตะไคร่น้ำขึ้นที่ผิววัสดุปลูกและรากกล้วยไม้

1.5 โฟม มีน้ำหนักเบา ไม่อุ้มน้ำแต่ช่องว่างระหว่างก้อนโฟม สามารถเก็บความชื้นได้ดี มีความยืดหยุ่นทำให้ยึดต้นได้ดีไม่โอนเอน
2. กล้วยไม้ดิน พบขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรียวัตถุ ดังนั้นจึงใช้ดินร่วมผสมปุ๋ยอินทรีย์และอาจมีถ่านหรืออิฐหักปนบ้านเพื่อให้มีการระบายน้ำดีขึ้น
ภาชนะปลูก
ภาชนะปลูกกล้วยไม้ควรมีขนาดเหมาะสมกับต้นกล้วยไม้ คือ ถ้าต้นมีขนาดเล็กก็ต้องใช้ภาชนะขนาดเล็ก ถ้าใช้ภาชนะใหญ่เกินไปต้นจะเน่าแฉะได้ง่าย นอกจากนี้ถ้าปลูกต้นเล็กในภาชนะขนาดเล็กจะออกดอกเร็วกว่าการปลูกในภาชนะใหญ่ (ครรชิต, 2535)
หลังจากปลูกเลี้ยงกล้วยไม้หลาย ๆ ปี ควรจะเปลี่ยนวัสดุปลูกและภาชนะปลูกใหม่ เนื่องจากต้นกล้วยไม้อาจจะเจริญเติบโตล้นภาชนะปลูกออกมา หรือวัสดุปลูกเก่าผุมีตะไคร่ขึ้นทำให้สะสมโรคและแมลง ต้นกล้วยไม้จะเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร ถ้าได้มีการเปลี่ยนภาชนะปลูกใหม่จะเจริญเติบโตดีขึ้น สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า สกุลช้าง และสกุลฟาเลนอปซิส ไม่ควรตัดรากเก่าและไม่ทำให้รากหัก เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นกล้วยไม้กลุ่มนี้จึงไม่ควรเปลี่ยนกระถาง แต่ควรใส่ภาชนะปลูกเก่าซ้อนลงในภาชนะปลูกใหม่ที่ใหญ่ขึ้น (จิตราพรรณ, 2529)
ชนิดของภาชนะปลูกจำแนกได้ดังนี้

1. ปลูกเลี้ยงแบบธรรมชาติ กล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศสามารถปลูกโดยมัดรากให้เกาะกับเปลือกท่อนไม้ หรือใช้หมากฝรั่งที่รับประทานแล้วติดลำต้นกับเปลือกท่อนไม้ซึ่งสะดวกและอยู่ได้อย่างถาวร กิ่งหรือลำต้นหลังจากปลูกต้องรดน้ำให้ชื้นเสมอหรือปลูกในช่วงฤดูฝน เพียง 2 – 3 เดือนรากก็จะเจริญยืดยาวไปตามเปลือกไม้และเกาะยึดแน่น จากนั้นจึงเอาเชือกหรือลวดที่รัดรากไว้ออก สำหรับกล้วยไม้ดินก็สามารถปลูกในแปลงดินได้แต่ต้องดูแลเรื่องการระบายน้ำและสามารถควบคุมการให้น้ำได้ เนื่องจากในช่วงพักตัวจะไม่ต้องการน้ำ

2. กระเช้าไม้ ควรใช้กระเช้าไม้สักเนื่องจากมีความคงทนกวาไม้ชนิดอื่น ขนาดของกระเช้าควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของต้น กระเช้าไม้เหมาะสำหรับกล้วยไม้รากอากาศ เนื่องจากมีความโปร่งจึงระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี อาจใช้ถ่านทุบใส่เป็นวัสดุปลูกเพื่อเก็บความชื้น แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเลี้ยงมีความชื้นเพียงพอ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใส่วัสดุปลูก ส่วนกล้วยไม้รากกึ่งอากาศ เช่น สกุลหวาย(Dendrobium spp.) ประเภทแคทลียา (Cattleya alliance) และสกุลออนซิเดียม (Oncidium spp.) สามารถปลูกในกระเช้าไม้ได้เช่นกัน แต่ต้องมีถ่านทุบใส่เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นบริเวณราก
ในปัจจุบันมีการผลิตกระเช้าพลาสติกที่มีสีสันให้เลือกหลายสี มีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับกระเช้าไม้ ซึ่งก็สามารถใช้เป็นภาชนะปลูกได้ดี แต่ความคงทนขึ้นอยู่กับคุณภาพของพลาสติก

3. กระถางดินเผา กระถางที่ใช้กับกล้วยไม้รากอากาศและกึ่งอากาศจะมีการเจาะรูด้านล่างและด้านข้าง เพื่อการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศรอบ ๆ วัสดุปลูก

4. กาบมะพร้าว สามารถตัดเป็นรูปต่าง ๆ ตามความต้องการหรืออาจจะใช้ลูกมะพร้าวทั้งลูก

จำหน่ายสารชีวภาพกำจัดเชื้อรา โคโค-แม็กซ์

จำหน่ายสารชีวภาพกำจัดเชื้อรา โคโค-แม็กซ์ สามารถกำจัดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ใบจุด เน่าดำหรือ เน่าเข้าไส้ ราดำ โรคต้นเน่าแห้งหรือโรคราเมล็ดผักกาด โรคใบใหม้ โรคเน่ายุบ โรครากเน่าโคนเน่า โรคราเห็ดในเฟิร์น โรคราสนิม โรคเขม่าดำ และโรคทุกชนิดที่เกิดจากเชื้อราเชื้อแบคทีเรีย สินค้าเป็นผง ถุงละ (1 กิโลกรัม) 450 บาท ค่าจัดส่ง 50 บาท(ส่งเป็น EMS) ฟรีหากส่งพัสดุธรรมดา ผลิตและควบคุมการผลิตโดยนักจุลชีววิทยาและนักโรคพืช ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ หากมีข้อสงสัยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ครับ


ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://board.212cafe.com/tanatporns

ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
โทร.087-2126507,056-912218
อีเมลล์. tanatporns@gmail.com

ฟาร์มคุณสาเกตุ กำจัดเชื้อรากับโคโค-แม็กซ์

คุณสาเกส ทับทิมเงิน เกษตรกรเจ้าของฟาร์มกล้วยไม้ส่งออก จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่าเดิมปลูกกล้วยไม้แล้วประสบปัญหา โรคเน่าเข้าไส้ และโรคราดำ ซึ่งเป็นปัญหาจากเชื้อรา คุณสาเกส จึงไปหาสารเคมีมาฉีดพ่น แฉดไป 2-3 ครั้ง เกิดปัญหาการดื้อยา ต่อมาคุณสาเกส ได้รู้จักชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ จึงได้โทรมาปรึกษานักวิชาการของชมรม ทางชมรมได้แนะนำเชื้อ โคโค-แม็กซ์ ให้คุณสาเกสไปทดลองใช้ ผลปรากฎว่าตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีด เชื้อราก็หยุดการแพร่กระจาย พอฉีดไปได้ 2-3 ครั้งอาการของกล้วยไม้ค่อยๆดีขึ้น จนหายเป็นปรกติในเวลาประมาณ 1 เดือน คุณสาเกส โทรมารายงานผลเป็นระยะ ได้รับความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากใช้สารเคมีแล้ว เกิดอาการดื้อยา และได้ผลไม่เต็ม 100% คุณสาเกสบอกว่าได้แนะนำเพื่อนเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม่ส่งออกให้ทดลองใช้อีกด้วย

การใช้เชื้อ โคโค-แม็กซ์ นำเชื้อ 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ 2 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 10 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง เพื่อให้เชื้อขยายตัว แล้วนำไปฉีดพ่นตอนเย็น ทุก 5-7 วัน เชื้อราจะหยุดการขยายตัวทันที ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีด


ที่มา:ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ
 
http://board.212cafe.com/tanatporns