วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

++ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้แวนด้า ++


การเลี้ยงกล้วยไม้แวนด้านั้นต้องใช้ปุ๋ยใช้ยามากหน่อยนิดนึงครับ

ไม้พวกแวนด้าถ้าอยู่ในร่มมาก เน้นว่ามากนะครับ
จะไม่ค่อยงาม เพราะยอดจะอ่อน ใบยาว ตายง่าย ถ้าได้รับแดดอ่อนๆตลอดทั้งวันจะแข็งแรง การย้ายจากกระเช้าถ้วยนิ้วไปลงกระเช้าที่ขนาดใหญ่กว่า หรือต้นที่ใหญ่แล้วต้องการเปลี่ยนกระเช้าก็ใช้วิธีเดียวกันครับ อย่าดึง เพราะรากจะฉีก ทำให้ราเข้า ทำให้โตช้าเพาะต้องใช้เวลาสร้างรากใหม่

ซึ่งวิธีที่ถูกต้องคือ นำไปแช่น้ำให้รากอ่อนก่อน แล้วจึงนำลงใส่ในกระเช้า แล้วนำฟิวอ่อนมัดที่รากกับก้นกระเช้า โดยก่อนจะมัดฟิวควรดัดต้นให้ตรงเสียก่อน แล้วใช้ฟิวรั้งลำต้นไว้กับลวดกระเช้าอีกที เวลาผูกฟิวที่ดี หมุนเกลียวแค่รอบหรือ 2 รอบก็พอ แต่เวลาหมุนเกลียว ควรจะดึงฟิวขณะหมุนด้วย เมื่อกล้วยไม้ติดแล้วนำไปแขวน โดยให้ส่วนปลายห้อยหัวลงดินรอจนรากเริ่มแตกขึ้นมาพอประมาณก็แขวนตามปกติคือให้รากชี้ลงดิน

น้ำ
เป็นปัจจัยสำคัญของแวนด้า ทั้งนี้ต้องดูโรงเรือนและทิศทางลมด้วย การรดน้ำต้องรดจนชุ่มโชก
เราสามารถตรวจสอบได้โดยดูที่ราก ถ้าให้พอเหมาะ รากจะนิ่ม และจะดูชุ่มชื้น จับรากงอดูรากจะไม่มีเสียงกังกร๊อบเกร็บ

การมุงแสลนของแวนด้าควรให้มีแสงประมาณ 40% คือใช้แสลนที่กรองแสง 60 % พื้นเรือนกล้วยไม้ที่ดีที่สุดคือ ขี้เถ้าแกลบอัดแน่น เพราะจะเก็บน้ำได้ประมาณ 7 เท่า และจะมีความชุ่มชื้นให้กับกล้วยไม้ได้มาก หรือใช้ทรายก็ได้

สำหรับใบแวนด้าที่เขียวจัด แสดงว่าปุ๋ยไนโตรเจนสูงหรือร่มจัด นั่นคือแสงแดดไม่พอเพียง ซึ่งแวนด้าไม่ชอบข้อควรจำ แวนด้านั้นชอบแสงแดด

ปุ๋ย
ในฤดูฝนควรงดปุ๋ยจำพวกยูเรีย และเมื่อกล้วยไม้มีใบ 6-7 ใบ (แล้วแต่สายพันธุ์) แสดงว่ากล้วยไม้ใกล้ให้ดอก ให้แยกต้นนั้นมาต่างหากแล้วเปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็น 2 ตัวหลังสูง เช่น 13-27-27 หรือคู่มหัศจรรย์ ช้อนเงิน-ช้อนทอง โดยก่อนเปลี่ยนสูตรปุ๋ย ให้รดน้ำตอนเช้าให้รากนิ่มเสียก่อน แล้วจึงตามด้วยปุ๋ย

แต่เมื่อให้ปุ๋ยเร่งดอกแล้ว กล้วยไม้ยังไม่ออกดอก ให้หยุดการใช้ปุ๋ยเร่งดอก แล้วใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ
สูตรเสมอ 21-21-21 หรือคู่มหัศจรรย์ ช้อนเงิน-ช้อนทอง

บางครั้งการเลี้ยงกล้วยไม้ อาจเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เราควรมีการทดลอง พร้อมกับใช้ศิลปะในการดูแลครับ

ลักษณะที่ดีของไม้พวกแวนด้า

ดอกของแวนด้าที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1 ก้านช่อแข็ง มีขนาดใหญ่ ก้านควรยาวเกือบเลยลำต้นหรือเลยลำต้นขึ้นไป
2 ก้านดอกสั้น ทำมุมกับก้านดอก 30-45 องศา

3. ความหนาของดอกดี ดูช่อดอกเป็นระเบียบ
4 จำนวนดอกมาก
5 ดอกกลม หรือ ฟอร์มดี

ดังนั้นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับความสวยงาม หรือ การออกดอกสม่ำเสมอ จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ3อย่างคือ
1 แสง
2 การถ่ายเทอากาศ
3 น้ำและปุ๋ย


ถ้าเป็นน้ำประปาขอแนะนำว่า ควรใส่พาชนะไม่ต้องปิดฝาทิ้งไว้สักวันหรือสองวันเพื่อให้คลอรีนที่อยู่ในน้ำประปา ระเหยออกไปเสียก่อน เพราะคลอรีนจะไปทำลายส่วนผสมบางชนิดของปุ๋ย แล้วยังไปเคลือบรากและลำต้นของกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เต็มที่

ขอขอบคุณ คู่มหัศจรรย์ ช้อนเงิน-ช้อนทอง

#@ เทคนิคการให้ปุ๋ยกล้วยไม้ @#


“ปุ๋ย” เป็นอาหารของกล้วยไม้ กล้วยไม้ที่เราเลี้ยงจะไม่ได้อาหารอะไรอีกแล้ว นอกจากสารประกอบ “ไนโตรเจน” ที่มีอยู่ในน้ำฝน ซึ่งถือเป็นอาหารหลัก ชนิดหนึ่งของกล้วยไม้หรืออาจจะได้แร่ธาตุบางอย่างจากน้ำ ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ จะต่างจากกล้วยไม้ที่อยู่ตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ในที่ๆเหมาะสม จะได้อาหารจากเปลือกไม้ที่มันเกาะใบไม้กิ่งไม้แห้ง น้ำฝนซึ่ง ชะเอาสารอาหารต่างๆ จากต้นไม้เบื้องบนลงมา ฯลฯ แก่กล้วยไม้ที่เราเลี้ยงจะปลูกอยู่ในกระเช้าแขวนในโรงเรือนหรือใต้ชายคา ซึ่งเราต้องให้ปุ๋ยจึงจะทำให้กล้วยไม้ ได้สารอาหารเพียงพอและงามสมบูรณ์

เรื่องของ “การให้ปุ๋ย” นี้ผมอยาก “เน้นเรื่องวิธีการและจังหวะเวลา” ในการให้ปุ๋ยมากกว่าจะมาใส่ใจเรื่องยี่ห้อหรือสูตรของปุ๋ยมากนัก นักเลี้ยงกล้วยไม้มืออาชีพจะให้ความสำคัญถึงเทคนิค คือวิธีการและจังหวะเวลามากกว่า แต่นักเลี้ยงสมัครเล่น ซึ่งไม่เคยรู้หรือเข้าใจเลย จะเน้นเรื่องยี่ห้อ หรือสูตรปุ๋ยเร่งดอก เร่งโน่น เร่งนี่ ซึ่งเป็นประเด็นที่รองลงไปมาก

จะ “เลี้ยงกล้วยไม้ให้งามได้มาตรฐาน” ใช้ ปุ๋ยสูตรเสมอ เป็นดีที่สุดครับ เพราะปุ๋ยสูตรเสมอมีความสมดุล ของ N-P-K (ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โปแตสเซียม) อย่างเหมาะสมเพียงพอที่กล้วยไม้ต้องการ เพื่อช่วยในการเติบโต(บำรุงต้นและใบ)บำรุงรากและบำรุงในการออกดอก ปุ๋ยควรเป็นสูตรสูง หมายถึง N-P-K รวมกันไม่น้อยกว่า 51 นั่นคือ ตั้งแต่สูตรเสมอ 17-17-17 ขึ้นไป จะเป็นยี่ห้ออะไรไม่ใช่เรื่องสำคัญนัก แต่ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำที่ดีควรจะละลายเร็วเมื่อเราผสมลงไปในน้ำ หากละลายช้าหรือตกเป็นตะกอนก็ไม่ค่อยดีนัก เราไม่ต้องกังวลว่าใช้สูตรเลขน้อย เช่น 18-18-18 แล้วกล้วยไม้จะได้อาหารน้อยกว่าสูตรเลขสูงกว่า เช่น 21-21-21

ทั้งนี้เพราะสัดส่วนการผสมปุ๋ยกับน้ำที่เราต้องผสมนั้นไม่เท่ากัน ขอให้ผสมตามที่สลากข้างขวดแนะนำไว้ก็แล้วกัน ทางผู้ผลิตปุ๋ยเขาคำนวนมาแล้วว่าต้องผสมน้ำในสัดส่วนเท่าใดจึงเหมาะสม แต่เราต้องผสมตามสัดส่วนสำหรับกล้วยไม้นะครับที่ข้างสลากเขาระบุด้วยว่าถ้ากล้วยไม้จะให้สัดส่วนใด วิธีการผสมที่เหมาสมที่สุดคือการชั่ง เช่น ที่สลากเขียนว่าสำหรับกล้วยไม้คือ 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร นั่นหมายถึง เราต้องผสมปุ๋ยโดยการชั่ง ในสัดส่วน 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 1 ปิ๊บ จริงๆ แต่ในทางปฎิบัติ นักกล้วยไม้อาจไม่ใช้ตาชั่งแต่จะใช้วัดเป็นปริมาตรแทน โดยอนุโลมว่าปุ๋ยหนัก 1 กรัม มีปริมาตรประมาณ 1 ซี.ซี. ดังนั้นจึงใช้ช้อนหรือถ้วยตวง ปุ๋ย 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตรก็ได้ครับ เราจะรดปุ๋ยด้วยน้ำปริมาณเท่าใดก็ต้องคำนวนปุ๋ยในปริมาณที่ได้สัดส่วนกัน

อย่างในกรณีนี้ถ้าเราจะรดปุ๋ยด้วยน้ำปริมาณเต็มถัง 100 ลิตร เราก็ต้องตวงปุ๋ยผสมในปริมาณ 200 กรัม หรือ 200 ซีซี. จึงจะเหมาะสม

ในการผสมปุ๋ยต้องคนให้ปุ๋ยละลายกับน้ำให้สมบูรณ์มากที่สุด สารละลายปุ๋ยที่เราผสมจะได้มีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วใช้ฉีดเป็นฝอยสเปรย์ละเอียดให้ชุ่มทั้งราก และต้น ถ้าเราเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนมากก็ต้องใช้ปั๊มไฟฟ้าและฉีดด้วยหัวสเปรย์ละเอียด ถ้าเลี้ยงน้อยอาจใช้ปั๊มลูกสูบ ที่ใช้มือปั๊มโยกในการฉีดหรือใช้ถังอัดความดันที่ปั๊มความดันเข้าไปก่อนแล้วฉีด แต่ต้องตั้งหัวฉีดให้เป็นฝอยละเอียด เพื่อให้สารละลายปุ๋ยกระจายอย่างทั่วถึง และไม่เป็นการสิ้นเปลืองอีกด้วย

กล้วยไม้ นั้นสามารถนำอาหารเข้าสู่ต้นได้ทั้งทางรากและทางใบ ส่วนใหญ่(80-90 %)จะเข้าทางรากและส่วนน้อยสามารถเข้าทางใบได้ ซึ่งจะต่างจากพืชอื่นๆ ที่เข้าทางรากเพียงอย่างเดียว แต่อาหารนั้นจะต้องอยู่ในรูปของของเหลว(สารละลาย)เท่านั้นจึงจะเข้าสู่ทางรากและต้น(ใบ)ได้ ดังนั้นเราต้องฉีดปุ๋ยให้เปียกชุ่มทั้งรากและต้นครับ

การให้ปุ๋ยเข้าสู่รากกล้วยไม้นั้นก็ไม่ใช่การเข้าแบบดูดซึมผ่านเนื้อเยื่อ หากแต่เป็นการเข้าในลักษณะของการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า ดังนั้นเราไม่ต้องกังวลว่ารากกล้วยไม้จะอิ่มน้ำอยู่ก่อนแล้วจะดูดปุ๋ยไม่เข้าถึงแม้รากกล้วยไม้จะอิ่มน้ำอยู่ก่อนพอประมาณแต่ก็สามารถนำปุ๋ยเข้าสู่รากได้โดยการแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้า ท่ไม่ใช่การดูดซึมผ่านเนื้อเยื่อธรรมดาแต่ขบวนการให้ปุ๋ยกล้วยไม้ เราต้องฉีดให้รากเปียกชุ่มเสมอ หากฉีดแบบผ่านๆ รากยังไม่เปียกชุ่มเลย การที่ปุ๋ยจะเข้าสู่รากกล้วยไม้ก็เป็นไปได้ยากและไม่มีประสิทธิภาพ

มีวิธีให้ปุ๋ยที่ประหยัดและได้ผลดีคือ ฉีดน้ำรดกล้วยไม้ให้มีความชุ่มพอประมาณ และรอสักครู่ให้น้ำที่รากเริ่มแห้งพอหมาดๆ แล้วค่อยฉีดปุ๋ยวิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ นักเล่น กล้วยไม้มืออาชีพที่เลี้ยงกล้วยไม้จำนวนมากๆ เพราะจะเป็นการประหยัดปุ๋ยไปได้ไม่น้อย(อาจถึง 50%) ทั้งนี้เมื่อรากกล้วยไม้เปียกชุ่มและเริ่มหมาดสามารถช่วยในการนำสารละลายปุ๋ยเข้าสู่รากได้โดยง่ายและทั่วถึงทำให้รากไม่ต้องฉีดปุ๋ยมากถึงรากเปียกชุ่ม เพราะรากได้เปียกชุ่มแล้วการที่เรารดน้ำก่อน เราสามารถฉีดปุ๋ยได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพคล้ายคลึงกับการฉีดปุ๋ยจนชุ่มด้วยวิธีปรกติ วิธีนี้มีข้อเสีย คือ เราต้องเสียเวลารดน้ำกล้วยไม้ก่อน และรอจนหมาดจึงค่อยฉีดปุ๋ย แต่มีข้อดีคือ สามารถประหยัดปุ๋ยได้เป็นอย่างมากในกรณีมีกล้วยไม้มากๆ

เวลาในการให้ปุ๋ยนั้น ควรให้ในเวลาเช้าเท่านั้น หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรให้ในเวลาเย็น เพราะเชื้อราที่แฝงอยู่ที่กล้วยไม้ จะมีกิจกรรมในเวลากลางคืน ดังนั้นหากเราให้ปุ๋ยในเวลาเย็นหรือดึก เชื้อราเหล่านั้นจะนำปุ๋ยไปเป็นอาหารด้วยเช่นเดียวกันและการให้ปุ๋ยในเวลาเช้า โดยเฉพาะในเวลาที่มีแสงแดดอ่อนๆ จะทำให้กล้วยไม้นำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับขบวนการสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลสูงสุด

ความถี่ในการให้ปุ๋ยนั้นคือทุกๆ 7 วัน เป็นมาตรฐาน เราต้องรักษาเวลาความถี่ทุกๆ 7 วันนี้ไว้ให้ดี หากวันไหนเรายุ่งหรือฝนตกไม่สามารถฉีดปุ๋ยได้ เราก็เลื่อนออกไปและเมื่อเรื่มฉีดปุ๋ยใหม่ ก็ให้นับปอีก 7 วัน สำหรับการฉีดครั้งต่อไป การรักษาระยะเวลาทุกๆ 7 วัน นี้มีความสำคัญมากเพราะเราฉีดปุ๋ยในอัตราส่วนตามที่สลากระบุเขาคำนวนมาแล้ว สำหรับทุก 7 วัน เราต้องปฎิบัติตามนั้น

หวังว่าทุกท่านคงได้รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับเทคนิคการให้ปุ๋ยกล้วยไม้ ฉีดพ่นเป็นฝอยละเอียด ทุก 7 วัน เวลาเช้า ผสมให้ได้สัดส่วนตามสลาก ผสมอ่อนไปไม่มีอันตราย แต่ผสมแก่ไปจะเป็นอันตรายกับกล้วยไม้ได้ในระยะยาว ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเป็นมาตรฐาน ขอให้ละลายน้ำได้สมบูรณ์ก็แล้วกัน กล้วยไม้จะได้งามอ้วนสมบูรณ์ครับ

สนันสนุนโดย คู่มหัศจรรย์ ช้อนเงิน-ช้อนทอง
 
http://board.212cafe.com/tanatporns