วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรคต่างของกล้วยไม้สายพันธุ์ต่างๆ



โรคราดำ

เป็นโรคที่พบเสมอกับกล้วยไม้ที่เลี้ยงไว้กับต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตัวเชื้อรานั้นไม่ทำอันตรายต่อต้นและดอก
เพียงแต่มันไปเกาะบนผิวเท่านั้น แต่อาจส่งผลมากถ้ามีการเกาะมากขึ้น ทำให้สังเคราะห์แสงได้น้อยลง

สาเหตุ: เกิดจากเชื้อรา Meliola sp

อาการของโรค: บริเวณใบและลำลูกล้วยไม้จะถูกปกคลุมด้วยผงดำๆ ของใยและสเปอร์ของเชื้อรา
มองดูคล้ายผงเขม่า ทำให้กล้วยไม้สกปรก

*การแพร่ระบาด: เชื้อราแพร่มาจากไม้ต้นใหญ่ เช่น มะม่วง ส้ม โดยสเปอร์ปลิวมากับลม
หรือติดมากับแมลงแล้วยังอาจแพร่ไปยังกล้วยไม้ต้นอื่นๆได้

**สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเป็นโรค: เชื้อรานี้มักขึ้นตามหยดน้ำหวาน หรือมูลที่เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยแป้ง ถ่ายออกมา และมักพบในบริเวณใกล้หรือใต้ต้นไม้ใหญ่

การป้องกัน:
แยกหรือทำลายต้นที่เป้นโรค หรือฉีดพ่น โคโค-แม็กซ์ ป้องกันทุก 15-20 วัน




โรคเน่าดำหรือโรคเน่าเข้าไส้

เป็นโรคที่สำคัญและมักพบเห้นบ่อยๆ เพราะสามารถเป็นได้กับกล้วยไม้หลายชนิด
และถ้าเกิดกับลูกกล้วยไม้จะทำให้ตายทั้งกระถางในเวลาอันรวดเร็ว

****อาการของโรค

เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ ราก ใบ ยอด และดอก ถ้าเชื้อราเข้าทำลายรากจะทำให้รากเน่าแห้ง
ซึ่งจะทำให้ใบเหลืองร่วง และถ้าทำลายยอดจะทำให้ยอดเน่าเป้นสีน้ำตาล เมื่อจับจะหลุดติดมามือมาได้ง่าย
ในระยะรุนแรงเชื้อราจะลุกลามเข้าไปในลำต้น เวลาผ่าต้นจะเห้นสีดำหรือน้ำตาลตามแนวยาว
ในบางครั้งจะเเสดงอาการที่ใบ โดยเป้นจุดกลมชุ่มน้ำ สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม
แล้วลุกลามเข้าไปในซอกใบ

สำหรับการสังเกตแบ่งได้เป้นข้อ ๆ ดังนี้นะ
1 อาการที่ใบ เริ่มแรกจะเป้นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาเป้นสีน้ำตาลและดำในที่สุด
แผลจะขยายใหญ่ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว ในสภาพที่มีความชื้นสูง

2 อาการที่ต้น เชื้อราเข้าทางยอดหรือลำต้น ใบจะเหลืองหรือเน่าดำหลุดร่วงจากต้นได้ง่าย
กรณีเข้าทางยอดก้อจะหลุดติดมือขึ้นมา กรณีที่เชื้อราเข้าทางโคนต้น
ใบจะเหลืองจากโครต้นขึ้นไปหาส่วนยอดเรื่อยๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่า "โรคแก้ผ้า"

3 อาการที่ราก เป้นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง ต่อมาจะลามไปในต้น

4 อาการที่ดอก บนกลีบดอกเป้นแผลจุดสีน้ำตาล อาจมีสีเหลืองล้อมรอบแผลเหล่านั้น

5 อาการที่ก้านช่อดอก เมื่อเชื้อราทำลายตรงก้านช่อ จะเห้นแผลเน่าลุกลาม ก้านช่อจะล้มพับในเวลาต่อมา

การแพร่ระบาด

เป้นโรคที่แพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้ง่าย โดยเฉพาะในฤดูฝน อากาศที่มีความชื้นสูง
สปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำฝนหรือระหว่างการรดน้ำต้นไม้

-การป้องกัน

1 ปรับสภาพโรงเรือนให้โปร่ง อย่าปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป
2 ถ้าพบกระถางไหนที่เป้นโรค ต้องทำลายเสีย (แต่บางสวนมักนำมาขายต่อในราคาถูก)
3 ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โตแล้ว ควรตัดส่วนที่เป้นโรคออกจนถึงเนื้อดี
แล้วใช้สารเคมีป้องกันป้ายบริเวณแผล
4 ไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นหรือใกล้ค่ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น
ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา

การป้องกันและกำจัด

สามารถใช้ โคโคแม็กซ์ ฉีดป้องกัน ได้ทุก 15-20 วัน หรือหากเป็นโรค ให้ฉีดกำจัดโรคทุก 5-7 วัน





โรคใบจุด

โรคใบจุด สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Phyllostictina psriformis พบมากในกล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลหวาย ทำให้ต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากใบมีการปรุงอาหารได้น้อยลงครับ
ถ้าโรคนี้เกิดในกล้วยไม้สกุลแวนด้า แผลจะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมากบางครั้งแผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ เมื่อลูบดูจะรู้สึกสากมือ ซึ่งในเวลาต่อมาตุ่มนูนนี้จะแตกออกมีสปอร์จำนวนมาก ระบาดในฤดูฝนถึงฤดูหนาวครับ
แต่ถ้าโรคนี้เกิดกับกล้วยไม้สกุลหวาย ก็จะแตกต่างจากสกุลแวนด้า คือ ลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ขอบแผลสีน้ำตาลอ่อน ขนาดแผลมีได้ตั้งแต่เท่าปลายเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อยหรือเป็นสะเก็ดสีดำ เกิดได้ทั้งด้านบนใบและหลังใบ บางทีอาจมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือ บนใบจะมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจน จุดกลมเหลืองเหล่านี้บางจุดจะมีสีดำบริเวณกลางและค่อยแผ่ขยายเป็นจุดกลมสีดำทั้งหมด
กับกล้วยไม้สกุลหวายนั้น สามารถเกิดโรคนี้ขึ้นได้ตลอดปีเลยทีเดียวครับ
เราสามารถป้องกันและกำจัดได้โดยใช้เชื้อ โคโค-แม็กซ์ ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน หากป้องกัน 14-20 วันต่อครั้งครับ




โรคเน่าเละ

เป็นโรคที่เกิดเสมอในกล้วยไม้หลายสกุล ซึ่งจากรายงานพบว่า กล้วยไม้จำพวก แคทลียา ออซิเดียม ฟาแลนนอป
ซิมบิเดียม แวนด้าลูกผสมและเข็ม มักเป็นโรคนี้ โดยอาการเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำก่อน
ต่อมาจะลุกลามเป้นแผลขนาดใหญ่สีน้ำตาล และยุบตัวลง

ลักษณะอาการ

จะเกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ตั้งแต่ลำลูกกล้วย ลำต้นและใบ
โดยระยะแรกจะเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่อ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนและเนื้อเยื่อบวม
คล้ายน้ำร้อนลวก ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสม ความชื้นสูง อาการจะขยายรุกรามเร้วขึ้น ทำให้เกิดอาการเน่าเละ
มีกลิ่นบูดเหม้นจัด ใบจะหลุดภายใน 2-3 วัน อาจทำให้กล้วยไม้ตายทั้งต้น




โรคเน่า

เป็นโรคที่สำคัญ ระบาดได้กับกล้วยไม้ทุกชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูล หวาย แคทลียา ฟาและนอปซิส เป็นต้น

ลักษณะอาการ

เริ่มแรกเป้นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น
และเนื้อเยื่อเหมือนจะถูกน้ำร้อนลวก คือ ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล และอาการเป้นจุดฉ่ำน้ำ
บนใบจะมีขอบสีเหลืองเห้นชัดเจน ภายใน 2-3 วันเนื้อเยื่อใบกล้วยไม้จะโปร่งแสงเห้นร่างแหของเส้นใบ
ถ้ารุนแรงต้นอาจตายได้

การแพร่ระบาด

โรคจะเเพร่ระบาดรุนแรง รวดเร็ว ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง เช่น ช่วงอากาศอบอ้าวก่อนที่ฝนจะตก

การป้องกัน

1 เผาทำลายต้นเป้นโรค
2 ลูกกล้วยไม้ควรปลูกในโรงเรือน และถ้าเกิดมีโรคนี้เข้าแทรกซึม ควรงดให้น้ำสักระยะ
อาการเน่าจะหยุดชะงักไม่ลุกลาม ระวังการให้น้ำมากเกินไปจนแฉะ
3 ไม่ควรปลูกก้วยไม้แน่นเกินไป เพราะเครื่องปลูก จะอุ้มน้ำหรือชื้นแฉะตลอดเวลา
เมื่ออากาศภายนอกร้าวอบอ้าว อากาศในเรืองเรือน จะทำให้เกิดเป็นโรคง่าย
การให้ปุ๋ยไนรโตรเจนสูงมากเกินไปและมีโปแตสเซียมน้อย ทำให้ใบอวบหนา และการให้ปุ๋ยไม่ถูกสัดส่วน
เร่งการเจริญเติบโต
รวดเร็วต่อเนื่องเป็นเวลานานในช่วงฤดูร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจะเกิดปัญหาโรคนี้ระบาด ทำใหต้นอวบ
เหมาะแก่การเกิดโรค

4 การใช้สารป้องกันกำจัด ใช้ เชื้อโคโค-แม็กซ์ 5 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง แล้วนำไปฉีดพ่นในช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด
ซึ่งอาจทำให้เชื้อเสื่อมฤทธิ์และไม่ควรผสมกับสารอื่นๆ ทุกชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

 
http://board.212cafe.com/tanatporns